ในเรื่องระบบส่งเอกสารและวัสดุโดยอาศัยปริมาตรลมที่ได้จาก Blower ตามจำนวนลูกบาศก์ฟุตต่อนาทีหรือ Cubic feet per minuteหรือ CFM นั้น , ลูกกระสวย (Carrier) ซึ่งถูกบรรจุลงในสถานีรับ-ส่ง, ถูกขับเคลื่อนออกไปโดยปริมาตรลมที่แรงดันคงที่ต่อนาทีทำให้การเคลื่อนไปหรือกลับภายในท่อส่ง (Tube) นั้น มีอัตราคงที่ จนถึงจุดหรือสถานีปลายทาง ซึ่งได้กล่าวในฉบับก่อนเกี่ยวกับการคำนวณหาค่าคุ้มทุน (Return of Investment) หรือ ROI
สำหรับในฉบับนี้จะกล่าวเกี่ยวกับการสำรวจออกแบบตามตำแหน่งที่กำหนดว่าจะเป็นจุดหรือสถานีรับ, สถานีส่ง, สถานีรับและส่ง ดังนี้ คือ
จากการใช้งานในระบบท่อลมซึ่งเกือบเป็นมาตรฐานเดียวกันคือความเร็วกระสวยที่ระยะ 5 – 6 เมตรต่อวินาทีนั้น ๆ สามารถกำหนดจำนวนสถานีสูงสุดที่จำนวน 17 สถานี ในความยาวรวมของระบบไม่เกิน 400 เมตร เป็นพื้นฐานการออกแบบและกำหนดพื้นที่ใช้สอยของระบบท่อลม เพื่อมิให้อัตราการรอการส่งเกินกว่า 2 นาที ซึ่งจากการใช้งานข้อมูลข้างต้น เป็นเพียงการกำหนดจากสถิติการใช้ 700 – 800 ครั้งต่อวันภายใน 8 – 10 ชั่วโมง เป็นต้น
ในระบบท่อลมรับ-ส่งเอกสารพัสดุนี้ยังสามารถกำหนดและออกแบบให้มีผู้รับได้ถึง 10 – 15 ผู้รับต่อหนึ่งสถานี โดยแม้ว่ามีสถานีรับเพียง 1 ตำแหน่ง โดยอาศัยสัญญาณแจ้งไปยังผู้รับนั้น ๆ ด้วยระบบสัญญาณเสียงในแต่ละพื้นที่เป็นต้น