ระบบ TELECAR คือ ระบบตู้ขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ จากประเทศสหรัฐอเมริกา ผ่านระบบราง ซึ่งเป็นเส้นทางวิ่ง เชื่อมโยงระหว่างสถานีจุดรับ-ส่ง ตามความต้องการของหน่วยงาน โดยติดตั้งรางอลูมิเนียมได้ทั้งแบบ รางตรง รางโค้ง อุปกรณ์รางเลื่อนเปลี่ยนทิศทาง ( Transfer Switch ) ทำให้ตู้ขนส่งเอกสารสามารถเคลื่อนที่ได้ทุกทิศทาง ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ เดินหน้าหรือถอยหลัง อย่างไม่มีข้อจำกัด โดยใช้กระแสไฟฟ้า 24 VDC ในการขับเคลื่อน และควบคุมการทำงานด้วยระบบ Microprocessor ปราศจากเสียงรบกวน ทำให้การขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์ภายในอาคาร ระหว่างชั้น หรือระหว่างอาคาร เป็นไปได้ง่าย ๆ เพียงปลายนิ้วสัมผัส
TELECAR เป็นผู้นำตลาดใหม่ในระบบขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ ซึ่งได้รับความเชื่อถือ และติดตั้งในหน่วยงานชั้นนำของโลกมากว่า 30 ปี ตัวอย่างเช่น Johns Hophins University Hospital, MIT Hospital, Credit Suisse First Boston, Singapore Airport Terminal Services เป็นต้น และในประเทศไทยติดตั้งที่ อาคารสมเด็จพระเทพรัตน์ คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 34 สถานี
ระบบตู้ขนส่งเอกสาร-พัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ ประกอบด้วย ตู้บรรจุภัณฑ์ หรือ ตู้ขนส่ง ( Container ) เป็นตัวกลางในการขนส่งโดยจะเคลื่อนที่ไปตามรางที่ได้ออกแบบเป็นเครือข่าย เชื่อมโยงสถานีรับ-ส่งที่ได้กำหนดไว้ภายในอาคาร หรือระหว่างอาคารเข้าไว้ด้วยกัน ตัวตู้ซึ่งสามารถบรรจุสิ่งของได้มากถึง 15 - 30 กิโลกรัมนี้ จะสามารถเคลื่อนที่ไปด้านหน้าหรือถอยหลัง, เลี้ยวซ้ายหรือขวา, ขึ้นหรือลง โดยการสลับเปลี่ยนเส้นทางได้โดยอัตโนมัติ ทำให้แน่ใจได้ว่าเอกสารหรือพัสดุที่ส่งผ่านตู้ Container ในระบบจะสามารถไปถึงมือผู้รับด้วยความรวดเร็วถูกต้องและปลอดภัย
การใช้งานระบบ ผู้ใช้เพียงแต่บรรจุพัสดุลงในตู้และปิดฝาตู้ให้แน่น และกดรหัสหมายเลขสถานีปลายทางบนหน้าจอให้ถูกต้อง หน้าจอจะแสดงหมายเลขสถานีหรือชื่อสถานี โดยหน้าจอเป็นแบบ LCD Touch Screen
ระบบถูกออกแบบให้มีความยืดหยุ่นสามารถเลือกใช้ตู้ Container และสถานีรับ-ส่งได้หลายรูปแบบในระบบเดียวกันได้ กรณีที่จะเพิ่มตู้หรือจำนวนสถานีภายหลังก็สามารถทำได้ง่าย
ตัวรางทำด้วยอลูมิเนียมคุณภาพสูงเป็นลักษณะ Anodize Extruded Aluminium ขึ้นรูปเป็นรูปทรงตัวยู เคลือบผิวด้วย Anodize ตัวรางมีโครงสร้างแข็งแรง ทนทาน ผลิตเพื่อใช้เป็นรางของระบบฯ
โดยเฉพาะด้านในของรางจะมีสะพานไฟจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า
โดยผ่านการรับรองจาก UL. Flammability Standard 94 VO. เพื่อป้องกันการลัดวงจร และป้องกันอุปกรณ์ควบคุมระบบต่าง ๆ
รางจะต้องมีร่องใส่รางฟันเฟือง สำหรับการเคลื่อนที่ในแนวดิ่ง มีทั้งแบบรางตรง ใช้ในแนวราบและแนวดิ่ง รางโค้ง (Curve) ใช้ในการเลี้ยว และรางงอ (Bend) ใช้เปลี่ยนทิศทางระหว่างแนวราบกับแนวดิ่ง
ทำหน้าที่สับเปลี่ยนทิศทางการเดินของรถลำเลียง โดยการติดต่อสื่อสารกับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนกลาง ( Central Control Unit ) เพื่อจัดระบบการเดินของรถลำเลียงให้เดินไปในแนวรางถึงจุดหมาย และประหยัดเวลา
อุปกรณ์รางเลื่อนเปลี่ยนทิศทาง ( Switching Unit ) ออกแบบให้มีความแข็งแรงทนทาน และรับน้ำหนักที่บรรจุให้เลื่อนเปลี่ยนทิศทางได้ เพื่อป้องกันมิให้เกิดข้อผิดพลาดในการเลื่อนสับเปลี่ยนทิศทาง และช่วยให้รางเลื่อนเปลี่ยนทิศทางการเลื่อนตำแหน่งมาตรงกับรางปกติได้อย่างราบเรียบ, ต่อเนื่อง, และถูกต้องแม่นยำ โดยอาศัยระบบ LAN ที่มีความเที่ยงตรงและไม่มีความผิดพลาดจากการกดสถานีต้นทางและปลายทาง
RE-ENTRY STATIONเหมาะสำหรับใช้ในสถานที่ที่มีบริเวณติดตั้งจำกัด โดยตำแหน่งรางมีเพียงรางเดียว และรถลำเลียงที่เข้าและออกจากสถานีรับ-ส่งจะอาศัยรางเดียวกัน |
THROUGH STATIONเหมาะสำหรับการใช้งานในตำแหน่งที่มีปริมาณความถี่ในการรับ-ส่งอย่างต่อเนื่อง โดยรถลำเลียงจะเข้าสถานีรับ-ส่งทางด้านหนึ่ง และออกอีกด้านหนึ่ง ซึ่งทำให้การเคลื่อนที่เป็นได้อย่างต่อเนื่อง |
MAGAZINE STATIONเหมาะสำหรับสถานีที่มีความถี่ในการรับส่งสูง โดยรางที่เข้าและออกจะถูกแยกออกจากกัน และตำแหน่งสถานีสามารถเก็บรถลำเลียงไว้ที่สถานีได้อีกด้านหนึ่ง ซึ่งทำให้การเคลื่อนที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง |
STORAGE STATIONเป็นสถานีสำหรับเก็บตู้ขนส่งสำรอง เพื่อให้สถานีต่าง ๆ เรียกตู้ขนส่งสำรองที่เก็บไปใช้ในการรับและส่งวัสดุเอกสาร ใช้สำหรับรับและส่งตู้บรรจุ โดยติดตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กับพื้นที่ทำงาน เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงได้อย่างรวดเร็ว หรือติดตั้งในพื้นที่ที่เป็นส่วนรวมเพื่อใช้ร่วมกับหน่วยงานอื่น ๆ ได้ และสามารถส่งสัญญาณไฟและเสียงไปยังผู้ใช้งานอื่น ๆ ได้ |
สถานีประกอบด้วยจอ LCD และปุ่มกดเป็นแบบ Touch Screen ทำหน้าที่ส่งสัญญาณแจ้งเตือนการรับตู้ Container และสามารถส่งสัญญาณเพื่อรับตู้เปล่า ส่งตู้เก็บ และแสดงการทำงาน และสถานะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสถานีเช่นเดียวกัน
ผู้ใช้งานระบบสามารถปิดการใช้งานของสถานีชั่วคราวได้ โดยระบบจะทำการแจ้งไปยังผู้ส่งให้ทราบทางหน้าจอโดยอัตโนมัติเมื่อมีการกดรหัสสถานีปลายทางที่ปิดการใช้งาน
กรณีผู้ส่งกดรหัสผิด เช่น กดรหัสที่ไม่มีอยู่ในฐานข้อมูลของระบบ จะต้องมีสัญญาณข้อความแจ้งให้ทราบทางหน้าจอ
ประกอบขึ้นด้วย โลหะมีความทนแข็งแรง มีขนาดเหมาะสมสามารถบรรจุเอกสารและพัสดุภัณฑ์ และมีฐานล่างพร้อมชุดขับ ขนาดตัวถังบรรจุภายในมีขนาดให้เลือกตามความเหมาะสมของการใช้งาน ที่ฐานล่างของตู้จะประกอบด้วย สะพานไฟ, ล้อขับ, เฟืองขับ, แผงวงจรควบคุม, IR Communication, กันชน, มีมอเตอร์ขับเคลื่อนด้วยกระแสไฟฟ้า 24 VDC ควบคุมการทำงานด้วยระบบไมโครโปรเซสเซอร์
ตัวถังของตู้บรรจุที่ใช้สำหรับบรรจุสิ่งส่งตรวจ หรือยาบางประเภท หรือพัสดุที่มีลักษณะเปราะบางแตกหักเสียหายได้ง่าย จะต้องให้มีแกนหมุนภายนอกเพื่อแขวนตู้ที่ออกแบบมา โดยในระหว่างที่ตู้เคลื่อนที่ไปนั้นไม่ว่าจะอยู่ในลักษณะในแนวราบ แนวดิ่ง หรือกลับหัว ตัวตู้ก็จะรักษาระดับตัวเองให้อยู่ในแนวราบตลอดเวลา ทำให้แน่ใจได้ว่าสิ่งของที่อยู่ภายในตู้จะไปถึงผู้รับปลายทางโดยไม่เกิดความเสียหายระหว่างทาง
เหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้งานตามโรงพยาบาล ทั้งนี้ เพื่อใช้ในการขนส่งเอกสารและพัสดุการแพทย์ไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ในโรงพยาบาล เนื่องจากในโรงพยาบาลเป็นหน่วยงานที่ต้องเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง มีเอกสารและพัสดุที่ต้องจัดส่งเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน เช่น การขนส่งฟิลม์เอ็กซเรย์ เวชระเบียน ประวัติคนไข้ ยา เวชภัณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะการขนส่งของเหลว เช่น หลอดแก้วบรรจุเลือดหรือปัสสาวะ ส่งไปยังห้องปฏิบัติการเพื่อให้การวิเคราะห์ผลสามารถทำได้อย่างปลอดภัย โดยใช้กระเช้าพิเศษ ซึ่งแขวนได้บนตู้ ตัวหลอดจะตั้งอยู่ในแนวดิ่งตลอดเวลาการเดินทาง ไม่ว่าตู้จะเคลื่อนไปในลักษณะใดก็ตาม ดังนั้นจะไม่เป็นปัญหาระหว่างการขนส่ง สำหรับในกรณีที่ประสงค์จะให้ปลอดเชื้อก็สามารถผนวกระบบยูวีฆ่าเชื้อได้ ระบบขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ TELECAR นี้ จึงเป็นการช่วยแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ เพื่อจะได้สามารถปฏิบัติภาระกิจที่สำคัญอื่น ๆ ในการรักษาพยาบาลคนไข้ให้ได้ประสิทธิภาพ และเพื่อให้ธุรกิจด้านการบริการทำงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น
ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินจำนวนมากนิยมใช้ระบบขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ TELECAR ในการขนส่งธนบัตรระหว่างห้องกับสถานีรับจ่ายเงิน ซึ่งแน่นอนต้องการความปลอดภัยและเชื่อถือได้
ดังนั้นระบบ TELECAR สามารถเพิ่มระบบล็อคพิเศษที่ฝาตู้ขนส่ง ผู้ที่ไม่ทราบรหัสก็จะไม่สามารถเปิดฝาตู้ขนส่งได้ จะเปิดได้เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น ถึงแม้ตู้ขนส่งจะอยู่ที่สถานีกำหนดก็ตาม เป็นการเสริมความปลอดภัยอีกขั้นหนึ่ง
โรงงานอุตสาหกรรม เป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่ประสบปัญหาความล่าช้าทางการผลิต เนื่องจากการขนส่งระหว่างแผนกต่าง ๆ เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่มีพื้นที่กว้างและเสียงดังรบกวนตลอดเวลา อาจทำให้เกิดความผิดพลาดในการสื่อสารสูง อาจนำไปสู่ผลผลิตที่ลดลง เพราะฉะนั้นระบบตู้ขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ TELECAR จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการใช้ขนส่งวัสดุต่าง ๆ
เช่น ชิ้นส่วนอิเลคทรอนิกส์ ระหว่างฝ่ายการผลิต ฝ่ายตรวจสอบ ฝ่ายบรรจุหีบห่อ หรือการขนส่งชิ้นส่วน อะไหล่ ไปยังแผนกต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นโรงงานที่สมบูรณ์แบบและทันสมัยแห่งหนึ่งของโลก
สำหรับการใช้ขนส่งแผ่นเพลทแม่พิมพ์ ระบบตู้ขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ TELECAR จากฝ่ายผลิตไปยังเครื่องพิมพ์ โดยใช้อุปกรณ์พิเศษในการหนีบแผ่นเพลทแม่พิมพ์ได้ครั้งละหลาย ๆ แผ่น โดยที่ชิ้นส่วนไม่เสียหาย และลดความล่าช้าในการขนส่ง ทำให้ประหยัดพื้นที่ใช้สอยภายในโรงพิมพ์ได้อย่างมาก โดยมีตู้ขนส่งโดยเฉพาะสำหรับเพลทแม่พิมพ์ ซึ่งระบบ TELECAR ถูกติดตั้งแล้วในโรงพิมพ์ชั้นนำส่วนใหญ่ในต่างประเทศ เป็นต้น
เนื่องจากการจัดเก็บหนังสือเป็นกิจวัตรประจำวันในห้องสมุด จึงเหมาะอย่างยิ่งในการติดตั้งระบบตู้ขนส่งเอกสารและพัสดุภัณฑ์อัตโนมัติ TELECAR ในการขนหนังสือต่าง ๆ ระหว่างรับยืม - คืนหนังสือ ห้องเก็บหนังสือ ห้องอ่านหนังสือ จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งที่ต้องการได้โดยไม่จำกัด ตลอดจนสามารถใช้วางระบบศูนย์บริการรวม ทำให้สามารถใช้อุปกรณ์สำนักงานได้ประโยชน์สูงสุด รวมทั้งช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาให้ลดน้อยลงด้วย เช่น งานด้านถ่ายเอกสาร การเข้าแฟ้มห้องสมุด เป็นต้น